สินค้า / Product

เรียนรู้ / Learn

Capture the moment


แบตเตอรี่ไหม้. ระเบิด  มีทั้งเป็นข่าว และไม่เป็นข่าว 

มาทำความเข้าใจกับประเภทแบตเตอรี่ที่มีขายให้ท้องตลาด. จะได้ไม่พลาดในการเลือกให้เหมาะสมตามความต้องการ. ( เล็ก + เบา + แรง และต้องปลอดภัย)





ที่ยังสับสนในปัจจุบันคือ LFP กับ Li-ion ส่วนแบตเตอรี่กรด (แบบแห้งกับ เติมน้ำกลั่น) คงรู้จักกันดีอยู่แล้ว


LFP หรือ LiFePO4: Lithium Iron Phosphate/Lithium Ferrous Phosphate

แบตชนิดนี้พัฒนามาจาก Li-ion 
LFP เก็บไฟได้น้อยกว่า Li-ion แต่ก็ยังมากกว่าแบตเตอรี่กรดทั้งยังเบา และเล็กกว่า   ความต้านภายในแบตน้อยเหมือนแบตเตอรี่กรด ทำให้แบตมีความเสถียรกว่าแบต Li-ion มาก


Lithium Ion หรือ Li-ion : LiCoO2, หรือใช้สารเคมีตัวอื่น

แบต Li-ion รู้จักกันดีในเรื่องการเก็บไฟได้มาก  แต่ก็มีความต้านทานในตัวแบตมากด้วยเช่นกัน 
แบต Li-ion มักเกิดความร้อนได้ง่าย ถ้าความร้อนเกินกว่าความสามารถที่จะส่งผ่านความร้อนดังกล่าวสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก (ระบายควาร้อนไม่ดีพอ) ความร้อนนี้จะทำให้ขั่วลบของแบตจะผลิตออกซิเจนออกมา เมื่อเจอความร้อน ตูม !! ระเบิด  ความร้อนเกินที่เกิดขึ้นนี้มักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า  อาจมาจากการชาร์จไฟเกิน (Overcharging), ชิ้นส่วนภายในบางส่วนเสียหาย, การลัดวงจรไฟฟ้าภายใน หรืออุณหภูมิภายนอกสูงเกินไป

ดังนั้นแบตชนิดนี้ควรมีวงจรป้องกันชาร์จไฟเกินติดมากับตัวแบต


ต่ออีกนิด....

แล้วทำไม แบต LFP ไม่ระเบิด ?

เพราะส่วนประกอบ(สารเคมี) ของแบต LFP สามารถทนความร้อนได้สูงกว่ามาก แบต LFP จึงนำมาใช้แทนแบตกรดได้เลย โดยไม่ต้องใช้วงจรกันชาร์จไฟเกิน


แล้วเครื่องชาร์จแบตหละ. ใช้ของเดิมได้มั๊ย ?

เครื่องชาร์จแบตกรด ที่ใช้กันอยู่มักมีโหมด desulfation ใช้ยืดอายุแบต. อย่าใช้โหมดนี้กับแบต LFP นะครับ จะทำให้แบตเสียได้  แบต LFP สามารถเก็บไฟได้นาน (คลายประจุต่ำ) ดั้งนั้นเครื่องชาร์จแทบไม่จำเป็น. 

หวังว่าบทความนี้มีประโยชน์กับเพื่อนๆ ขี่เพลิน กันนะครับ

PLearn9 : play learn and ride



No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.